วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

Acute pharyngitis in adult

  1. แยกกลุ่ม deep neck infection ออก (เช่น muffled voice, drooling, stridor, respiratory distress, sniff position, severe unilateral sore throat, bulging of the pharyngeal wall/soft palate, trismus, crepitus, stiff neck, Hx penetrating trauma)
  2. ตรวจ screening viral infection (โดยเฉพาะ COVID-19) อาการซึ่งเข้าได้กับ viral infection ได้แก่ ไอ น้ำมูก ตาแดง เสียงแหบ ผื่น แผลในปาก
  3. ถ้าตรวจไม่เจอหรือไม่มีอาการสนับสนุน viral infection ให้ดูว่าอาการเข้าได้กับ GAS หรือไม่ ได้แก่ ไข้ เจ็บคอเฉียบพลัน คอแดง มี palatal petechiae มีหนอง เจ็บต่อมน้ำเหลืองที่คอ ไม่ไอ มี scarlatiniform rash หรือมีประวัติสัมผัส GAS
  4. ถ้าสงสัย GAS คือ มี 3 ข้อของ Centor  criteria (ที่ขีดเส้นใต้) ให้ตรวจ throat swab ยืนยัน (ถ้าตรวจเป็น rapid test แล้ว negative แต่ยังสงสัยหรือเป็นกลุ่มเสี่ยง (immunocompromise, Hx ARF) ให้ตรวจ NAAT หรือ throat C/S ซ้ำ)  

** ให้สงสัย STD และ HIV ไว้ด้วยถ้ามีประวัติเสี่ยง

การรักษา

  • รักษาตามอาการ ได้แก่ ยาแก้ปวด (NSAID, paracetamol) ไม่แนะนำ glucocorticoid (ยกเว้น เจ็บคอมากๆ กลืนเจ็บมากๆ เช่น dexamethasone 10 mg PO single dose); ดื่มน้ำอุ่น น้ำผึ้งมะนาว ใช้ยาอมหรือยาพ่นคอบรรเทาอาการ
  • รักษา GAS แนะนำให้ amoxicillin 50 mg/kg/day PO OD-BID x 10 วัน รองมา เช่น azithromycin 12 mg/kg/day (max 500 mg) x 5 วัน หรือ clindamycin 7 mg/kg/dose (max 300 mg) PO TID x 10 วัน
  • ถ้าเป็น GAS อาการจะดีขึ้นหลังให้ ATB ภายใน 24-72 ชม. (ให้กลับไปทำงานได้หลังได้ ATB 12-24 ชม.และไม่มีไข้) ส่วน viral infection อาการจะดีขึ้นเองใน 5-7 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Community-acquired pneumonia

คือ คนที่มีอาการ  ( เช่น ไข้ ไอ เสมหะ เหนื่อย )  และมี  opacity   (lobar consolidation, interstitial infiltration, cavitations)  ใน  chest i...