- คือ คนที่มีอาการ (เช่น ไข้ ไอ เสมหะ เหนื่อย) และมี opacity (lobar consolidation, interstitial infiltration, cavitations) ใน chest imaging โดยทั่วไปจะทำ CXR AP + lateral แต่ในรายที่ negative CXR แต่สงสัยปานกลาง-มากอาจทำ CT chest เพื่อวินิจฉัย
- ประเมินว่าควรรักษาแบบ OPD หรือ IPD อาจประเมินจากความรุนแรงของอาการ และ ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วย หรือใช้ clinical predictor rule ที่แนะนำคือ Pneumonia Severity Index (PSI) > CURP-65 โดยที่ PSI class I-III สามารถรักษาเป็น OPD ได้ แต่ II, III อาจต้องมี healthcare support (เช่น visiting nurse, IVF, IV ATB, observation unit) แต่ใน class IV-V ต้องรักษาแบบ IPD +/- ICU
- ตรวจ influenza, COVID-19; และในรายที่ต้อง admit (CURP-65 = 0; PSI class I-II) ให้ตรวจ H/C, sputum C/S, urinary antigen for S. pneumoniae, PCR for Legionella, rt-PCR for COVID-19, rapid nasal PCR/culture for MRSA (ถ้าเสี่ยงต่อ MRSA, severe disease, biphasic illness ตามหลัง viral respiratory syndrome), anti-HIV; อาจทำ bronchoscopy ใน severe CAP หรือคนที่ admit ICU
- การรักษา OPD ถ้าอายุ < 65 ปี และไม่มีประวัติเพิ่งได้ ATB ให้ amoxicillin 1 g PO TID + (macrolide หรือ doxycycline) x 5 วัน แต่ถ้าอายุ > 65 ปี สูบบุหรี่ มีโรคประจำตัว หรือเพิ่งได้ ATB ให้ amoxicillin-clavulanate 2 g PO BID + (macrolide หรือ doxycycline) x 5 วัน; (แพ้ penicillin ให้ 3rd gen cephalosporin (cefodoxime) แทน); ในรายที่อาการไม่ดีขึ้นใน 48-72 ชม.ต้องประเมินซ้ำ
- การรักษา IPD ให้ IV ATB ภายใน 4 ชม. (ภายใน 1 ชม.ถ้า septic shock) แนะนำ antipneumococcal beta-lactam (ceftriaxone, cefotaxime, ceftaroline, ertapenem, ampicillin-sulbactam) + macrolide (azithromycin, clarithromycin) หรือให้ fluoroquinolone monotherapy (levofloxacin, moxifloxacin, gemifloxacin)
- กรณี ICU ให้คล้ายกัน แต่ถ้าให้ azithromycin ไม่ได้ ให้ beta-lactam + fluoroquinolone
- ถ้าเสี่ยง MRSA (Hx MRSA, recent admit + IV ATB < 3 mo, necrotizing/cavitary pneumonia, empyema, immunosuppression, risk factor (ESRD, crowded living, IVDU, contact sports, MSM)) ให้เพิ่ม vancomycin หรือ linezolid
- ถ้าเสี่ยง pseudomonas (ดู COPD ด้านบน) ให้ (piperacillin-tazobactam, imipenem, meropenem, cefepime, ceftazidime) + (levofloxacin, ciprofloxacin)
- ถ้าอาการดีขึ้นเร็วภายใน 2-3 วัน ให้ยานาน 5-7 วัน หรือ procalcitonin < 0.25 ng/mL หรือลดลง > 80% (ถ้า peak level > 5 ng/mL)
- Glucocorticoid ใน immunocompetent + respiratory failure (เช่น P/F ratio < 300 + ต้องการ FiO2 > 0.5) แนะนำให้ hydrocortisone 200 mg IV continuous drip x 4-7 วัน then taper ยกเว้นไม่ให้ใน influenza, tuberculosis, fungal, herpes, acute viral hepatitis
- D/C + F/U ภายใน 1 สัปดาห์
จดความรู้ที่เคยต้องใช้ใน ER
วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
Community-acquired pneumonia
Acute COPD exacerbation
- คือ มีอาการเหนื่อยมากขึ้น เสมหะมากขึ้น/ข้นขึ้น หรือเสมหะเป็นหนอง ภายใน 14 วัน ส่วนใหญ่เกิดจาก respiratory infection และอื่นๆ ได้แก่ eosinophilic inflammation, pollution
- ตรวจ sputum G/S, C/S ในคนที่เสี่ยงต่อ pseudomonas (Hx pseudomonas โดยเฉพาะภายใน 12 เดือน, very severe COPD (FEV1 < 30%), bronchiectasis on imaging, ได้ board spectrum ATB ภายใน 3 เดือน, chronic systemic glucocorticoid use), ได้ ATB แล้วไม่ดีขึ้น, หรือ ในรายที่ admit (โดยเฉพาะเสี่ยงต่อ acute respiratory failure); ตรวจ influenza, COVID-19; CXR (ทุกรายที่มา ER หรือ admit)
- การรักษา ให้ ATB ในรายที่มี > 2 ข้อ (เหนื่อยมากขึ้น เสมหะมากขึ้น/ข้นขึ้น เสมหะเป็นหนอง) หรือต้อง admit หรือต้องใช้ ventilatory support โดยให้ยานาน 5 วัน (ยกเว้น azithromycin 500 mg OD x 3 วัน)
- ถ้ามีความเสี่ยงต่อ pseudomonas ให้ levofloxacin หรือ (ciprofloxacin +/- amoxicillin)
- ถ้าไม่เสี่ยงต่อ pseudomonas แต่เสี่ยงต่อ poor outcome (FEV1 < 50%, exacerbate > 2 ครั้ง หรือ admit ใน 1 ปี, ได้ continuous O2 supplement, อายุ > 65 ปี, มีโรคร่วม (โดยเฉพาะ IHD, HF)) ให้ amoxicillin-clavulanate หรือ fluoroquinolone (เลือกตัวที่ไม่เคยได้ใน 3 เดือน)
- ถ้าไม่เสี่ยงทั้งสองอย่าง ให้ macrolide (azithromycin, clarithromycin) หรือ 2nd-3rd gen cephalosporin (cefuroxime, cefpodoxime, cefdinir)
- ATB prophylaxis ใน severe COPD + exacerbation > 2 ครั้งต่อปี ให้ azithromycin 250 mg PO 3 ครั้งต่อสัปดาห์
Acute bronchitis
มาด้วยอาการไอ ซึ่งหายได้เองใน 1-3 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก virus (rhinovirus, coronavirus, influenza, RSV) พบสาเหตุจาก bacterial < 10% (B. pertussis, M. pneumoniae, C. pneumoniae)
ทำ CXR ในรายที่สงสัย pneumonia ได้แก่ อายุ > 75 + mental status change, PR > 100, RR > 24, T > 38C, O2 sat < 95%, lung examination ผิดปกติ (crepitation, egophony, tactile fremitus)
การรักษา บรรเทาอาการไอ (อมลูกอม ดื่มชาร้อน หยุดบุหรี่ และยาที่แนะนำ คือ dextromethorphan, guaifenesin) ในรายที่มี wheezing ให้ albuterol
การรักษาจำเพาะบางกรณี เช่น COVID-19, influenza, pertussis (ไอ > 2 สัปดาห์ + 1/3 (paroxysmal of coughing, inspiratory whoop, post-tussive emesis))
Acute pharyngitis in adult
- แยกกลุ่ม deep neck infection ออก (เช่น muffled voice, drooling, stridor, respiratory distress, sniff position, severe unilateral sore throat, bulging of the pharyngeal wall/soft palate, trismus, crepitus, stiff neck, Hx penetrating trauma)
- ตรวจ screening viral infection (โดยเฉพาะ COVID-19) อาการซึ่งเข้าได้กับ viral infection ได้แก่ ไอ น้ำมูก ตาแดง เสียงแหบ ผื่น แผลในปาก
- ถ้าตรวจไม่เจอหรือไม่มีอาการสนับสนุน viral infection ให้ดูว่าอาการเข้าได้กับ GAS หรือไม่ ได้แก่ ไข้ เจ็บคอเฉียบพลัน คอแดง มี palatal petechiae มีหนอง เจ็บต่อมน้ำเหลืองที่คอ ไม่ไอ มี scarlatiniform rash หรือมีประวัติสัมผัส GAS
- ถ้าสงสัย GAS คือ มี 3 ข้อของ Centor criteria (ที่ขีดเส้นใต้) ให้ตรวจ throat swab ยืนยัน (ถ้าตรวจเป็น rapid test แล้ว negative แต่ยังสงสัยหรือเป็นกลุ่มเสี่ยง (immunocompromise, Hx ARF) ให้ตรวจ NAAT หรือ throat C/S ซ้ำ)
** ให้สงสัย STD และ HIV ไว้ด้วยถ้ามีประวัติเสี่ยง
การรักษา
- รักษาตามอาการ ได้แก่ ยาแก้ปวด (NSAID, paracetamol) ไม่แนะนำ glucocorticoid (ยกเว้น เจ็บคอมากๆ กลืนเจ็บมากๆ เช่น dexamethasone 10 mg PO single dose); ดื่มน้ำอุ่น น้ำผึ้งมะนาว ใช้ยาอมหรือยาพ่นคอบรรเทาอาการ
- รักษา GAS แนะนำให้ amoxicillin 50 mg/kg/day PO OD-BID x 10 วัน รองมา เช่น azithromycin 12 mg/kg/day (max 500 mg) x 5 วัน หรือ clindamycin 7 mg/kg/dose (max 300 mg) PO TID x 10 วัน
- ถ้าเป็น GAS อาการจะดีขึ้นหลังให้ ATB ภายใน 24-72 ชม. (ให้กลับไปทำงานได้หลังได้ ATB 12-24 ชม.และไม่มีไข้) ส่วน viral infection อาการจะดีขึ้นเองใน 5-7 วัน
Paracatamol poisoning
หลังกิน paracetamol จะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วและมี peak serum ที่ 1.5-2 ชม.ในขนาดปกติ แต่ถ้ากินเกินขนาดจะมี peak serum ภายใน 4 ชม. ยกเว้น กินเป็น extended-release หรือกินยาที่ลด gastric emptying time (opioid, anticholinergic) ร่วมด้วย
อาการแสดงเป็น 4 ระยะ คือ stage I (< 24 h) asymptomatic, N/V; stage II (24-72h) RUQ pain, hepatitis; stage III (72-96h) liver failure, MOF; stage IV (4d-2wk) recovery
การประเมิน
- ให้ตรวจ serum acetaminophen concentration ที่ 4 ชม.หลังกินยา แล้วมาเทียบกับ Revised Rumack-Matthew nomogram และให้การรักษาเลยถ้าถึงเกณฑ์
- ถ้าเวลาที่กินไม่ชัดเจนก็ให้รักษาเลย ยกเว้น serum concentration < 10 mcg/mL (66 micomol/L) + ไม่มีอาการ + liver enzyme ปกติ
- ถ้ากินเป็น extended-release หรือกินยาที่ลด gastric emptying time (opioid, anticholinergic) ร่วมด้วย และตรวจ concentration > 10 mcg/mL แต่ไม่ถึงเกณฑ์รักษา ให้ตรวจซ้ำอีก 4-6 ชม.
การรักษา
ถ้ากิน paracetamol เกินขนาด (> 150 mg/kg, 7.5 g) มาภายใน 4 ชม.ให้ activated charcoal 1 g/kg (max 50 g) PO (ถ้าคิดว่า protect airway ไม่ได้ก็ไม่ต้องให้)
ให้ acetylcysteine ถ้า
- Serum concentration ถึงเกณฑ์ตาม normogram ข้างต้น
- ตรวจระดับ concentration ไม่ได้ (หรือไม่รู้ผลภายใน 8 ชม.หลังกิน)
- กินหลายครั้ง > 24 ชม. + (concentration > 20 mcg/mL หรือ elevated AST/ALT)
- ประวัติไม่น่าเชื่อถือ + (concentration > 10 mcg/mL หรือ elevated AST/ALT)
สูตรการรักษา (ทุกสูตรจะต้องได้อย่างน้อย 300 mg/kg ภายใน 24 ชม.)
- 20-hour IV protocol: NAC 150 mg/kg (max 15 g) IV load over 60 min then 50 mg/kg (max 5 g) IV over 4 h then 100 mg/kg (max 10 g) IV over 16 h
- Simplified 20-hour IV protocol (ลดการเกิด anaphylactic reaction): NAC 200 mg/kg IV over 4 hours then 100 mg/kg IV over 16 hours
- 72-hour oral protocol (ในรายที่ไม่มี hepatic failure, vomiting): NAC 140 mg/kg (max 15 g) PO then 70 mg/kg (max 7.5 g/dose) PO q 4 h for total of 17 doses [ผสม PO NAC ในน้ำอัดลมหรือน้ำผลไม้ปิดฝาแล้วดูดจากหลอด] ถ้าอาเจียนภายใน 60 นาทีหลังกินให้กินซ้ำขนาดเดิม
- ในรายที่เกิน anaphylatoid reaction ให้หยุดยา 15-30 นาทีแล้วให้ต่อ rate เดิน ยกเว้นอาการจะแย่ลง
- จะหยุดให้ยาหลังได้ acetylcysteine อย่างน้อย 300 mg/kg + INR < 2 + AST/ALT ปกติ หรือลดลง 25-50% + serum concentration < 10 mcg/mL + อาการดีขึ้น
วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567
Acute hypercapnia
สงสัยในรายที่มีความเสี่ยงต่อ hypoventilation (sedative) หรือมี physiologic dead space เพิ่มขึ้น (COPD) ให้ตรวจ ABG จะพบ PaCO2 > 45 จะแบ่งเป็น acute, chronic, acute-on-chronic respiratory acidosis
Routine w/u ABG, CBC, blood chemistries, CXR; และเมื่ออาการคงที่จึงตรวจที่สงสัยต่อ (toxicology screen, TFTs, chest/brain imaging)
การรักษา
- รักษาตามสาเหตุ
- Oxygen therapy ปรับให้ oxygen sat 90-93% (PaO2 60-70) ถ้า hypoxemia ไม่มาก ให้ oxygen ช้าๆ อาจเริ่ม 1-2 L/min (FiO2 24-28%) แล้วปรับเพิ่ม 1 L/min (4-7%) ทุก 10-15 นาที โดยติดตาม PaO2 และ PaCO2 จนได้ตามเป้าหมาย (ถ้า PaCO2 แย่ลงให้ NIV หรือ intubation)
- NIV ในรายที่ pH < 7.3, moderate-severe respiratory distress, tachypnea (RR > 25), หรือใช้แรงหายใจมาก
- Mechanical ventilation ถ้ามี acidemia มาก (pH < 7.2) หรือซึมลง
Acute hypoxemia
Management
แก้ไข hemodynamic ให้คงที่ + ให้ oxygen เสริม + ให้ empirical treatment ในสาเหตุที่สงสัย
- Oxygen เริ่มจาก nasal cannula 1-6 L/min titrate ให้ oxygen sat > 90% (ยกเว้นเป็น mouth breather ให้ simple facemask หรือถ้าเป็น oxygen-sensitive อาจให้ venturi mask)
- ถ้าต้องการมากขึ้น หรือ หายใจเหนื่อย แนะนำให้ HFNC (ถ้าไม่มี hypercapnia หรือ respiratory distress มาก) รองมา คือ oxygen mask with bag และ NIV
- ถ้าต้องการ HFNC มากขึ้นเรื่อยๆจน ใช้ถึง 60 L/min + FiO2 0.6 ให้ประเมินการทำ intubation
Routine w/u: ABG, CXR, ECG, CBC, blood chemistries, LFTs, coagulation studies, troponin, NT-proBNP, Bedside US (echocardiography, DVT)
- PaCO2 เพิ่ม + A-a gradient ปกติ = hypoventilation (sedative)
- PaCO2 เพิ่ม + A-a gradient เพิ่ม = dead space (COPD with AE)
- PaCO2 ปกติ + A-a gradient เพิ่ม = V/Q mismatch (ARDS), shunt (multilobar pneumonia, mechanical shunt)
- PaO2 กับ SpO2 ไม่ไปด้วยกัน เช่น SpO2 ต่ำ + PaO2 ปกติ + ให้ oxygen ไม่ดีขึ้น = methemoglobinemia; SpO2 ปกติ + PaO2 ต่ำ + WBC/platelet สูง = WBC/platelet larceny
บางรายตรวจเบื้องต้นแล้วยังหาสาเหตุไม่เจอ พิจารณาตรวจเพิ่ม เช่น CT pulmonary angiography (PE), thyroid studies (hypo/hyperthyroidism), septic w/u (nonrespiratory infection), bubble echocardiography/CT chest + liver (mechanical shunt), right heart catheterization (PAH), CT chest/bronchoscopy (interstitial disease, alveolar disease)
ติดตามอาการ ทุก 4-6 ชม. ในรายไม่ต้องใช้ oxygen มาก หรือทุก 1 ชม.ในคนที่ต้องการ advanced support ร่วมกับตรวจ ABG ซ้ำที่ 1-2 ชม. ในรายที่ดีขึ้นค่อยๆลด oxygen ลง
Community-acquired pneumonia
คือ คนที่มีอาการ ( เช่น ไข้ ไอ เสมหะ เหนื่อย ) และมี opacity (lobar consolidation, interstitial infiltration, cavitations) ใน chest i...
-
คือ คนที่มีอาการ ( เช่น ไข้ ไอ เสมหะ เหนื่อย ) และมี opacity (lobar consolidation, interstitial infiltration, cavitations) ใน chest i...
-
คือ มีอาการเหนื่อยมากขึ้น เสมหะมากขึ้น / ข้นขึ้น หรือเสมหะเป็นหนอง ภายใน 14 วัน ส่วนใหญ่เกิดจาก respiratory infection และอื่นๆ ได้แก่ e...
-
หลังกิน paracetamol จะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วและมี peak serum ที่ 1.5-2 ชม.ในขนาดปกติ แต่ถ้ากินเกินขนาดจะมี peak serum ภายใน 4 ชม. ยกเว้น กินเ...